ประวัติความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคล

ประวัติความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคล
ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางศาสนาพราหมณ์ มีดังนี้
เรื่องราวการกำเนิดพระชัยมงคลมีความเป็นมาในอวตารปางที่ 5 แห่งองค์พระนารายณ์หรือพระวิษณุเทพ ในยุคนั้นทั้งมนุษย์และทวยเทพ มีการไปมาหาสู่กันอย่างง่ายดายอยู่เสมอ แต่สมัยนี้ ติดต่อกันยากลำบาก เพราะมนุษย์สมัยนี้มีความดีน้อยลงมาก บรรดาทวยเทพจึงไม่ลงมาคบหาด้วย
ในสมัยนั้นมีผู้เป็นใหญ่ที่สุดในมวลมนุษย์ ทรงพระนามว่า "ท้าวทศราช" ปกครองนคร "กรุงพาลี" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า "พระนางสันทรทุกเทวี" มีโอรสด้วยกัน 9 พระองค์ คือ

1.พระชัยมงคล 6.พระธรรมโหรา ( พระเยาวแผ้ว )
2.พระนครราช 7.พระเทวเถร ( พระวัยทัต )
3.พระเทเพล ( พระเทเพน ) 8.พระธรรมมิกราช ( พระธรรมมิคราช )
4.พระชัยศพน์ ( พระชัยสพ ) 9. พระทาษธารา
5.พระคนธรรพน์

พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ มีความสามารถและอานุภาพมาก ในฐานะเทพ ทั้ง 9 พระองค์ มีความสามารถเท่าเทียมกัน ท้าวทศราชทรงมอบหมายให้ทั้ง 9 พระองค์ ไปดูแลสถานที่ต่างๆ แทนพระองค์
ต่อมาท้าวทศราช เกิดความโลภมาก,เห็นแก่ตัว,เบียดเบียนมนุษย์ ปกครองบ้านเมืองอย่างไร้คุณธรรม กดขี่ข่มเหงราษฎรโดยไม่กลัวบาป จนได้รับความเดือดร้อนไปทั่วทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังรับสั่งให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์กระทำความผิดโดยเรียกร้องเครื่องเซ่นสังเวยต่างๆ จนราษฎรได้รับความลำบากทุกข์ยาก ไม่สามารถขัดขืนหรือหาทางออกได้
เมื่อพระศิวะมหาเทพทรงทราบเรื่องราวความเป็นมาของความเดือดร้อนของมนุษย์ จึงมีโองการให้พระนารายณ์( พระวิษณุ ) อวตารลงมาปราบพระเจ้ากรุงพาลี เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาจนเติบใหญ่เป็นพราหมณ์น้อย มีวิชาความรู้ ได้เดินทางมาเฝ้าท้าวทศราช เมื่อท้าวทศราชเห็นพราหมณ์น้อยน่าเลื่อมใส และถามพราหมณ์น้อยว่า ต้องการอะไรเป็นการบูชา พราหมณ์น้อยจึงออกอุบายขอที่เพียง 3 ก้าวเท่านั้น ท้าวทศราชตรัสรับปาก พราหมณ์น้อยจึงขอให้ท้าวทศราชหลั่งน้ำอุทกธารา ในขณะที่กำลังหลั่งนั้น พระศุกร์ ผู้เป็นอาจารย์ของท้าวทศราชรู้ทันอุบายของพราหมณ์น้อย ได้แปลงกายเข้าไปอุดรูน้ำไว้ พราหมณ์น้อยจึงเอาปลายหญ้าคาแยงเข้าถูกนัยน์ตาของพระศุกร์เข้า พระศุกร์เจ็บปวดจนทนไม่ไหวเหาะหนีไปน้ำจึงไหลออกมา
หลังจากนั้นพราหมณ์น้อยก็แสดงอิทธิฤทธิ์กลับคืนสู่ร่างเดิมซึ่งใหญ่โตกว่าปราสาทราชมณเฑียร เมื่อย่างก้าวเพียง 3 ก้าว ก็กินอาณาบริเวณกรุงพาลีทั้งหมด ท้าวทศราชเห็นก็ทรงก้มกราบลงขอขมาพระนารายณ์ทันที ( พราหมณ์น้อย ) พระนารายณ์ ทรงขับไล่ท้าวทศราช,พระนางสันทรทุกเทวีและพระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ให้ไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ นับจากนั้นราษฎรก็อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
ฝ่ายท้าวทศราช,พระมเหสีและพระโอรส ต้องพบกับความยากลำบากแสนสาหัส ด้วยสภาพเช่นนี้ทำให้ท้าวทศราชและพระโอรสสำนึกถึงความผิดของตนที่ได้กระทำไว้แต่หนหลัง ท้าวทศราชจึงได้พาพระโอรสทั้ง 9 ไปเข้าเฝ้าพระนารายณ์เพื่อขออภัยโทษและแสดงความสำนึกผิดอย่างแท้จริงและปวารณาตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรม ประกอบกรรมดี มีจิตใจเผื่อแผ่ พระนารายณ์เห็นจิตอันแรงกล้าจึงอภัยโทษให้และอนุญาตให้ท้าวทศราชและพระโอรสทั้ง 9 กลับมาอยู่ที่กรุงพาลีได้ดังเดิม แต่ไม่ใช่ฐานะกษัตริย์ แต่ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1เสาปักลงบนผืนดิน และจะต้องปฏิบัติตามคำสัญญาอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะไม่ให้อยู่ในโลกอีกต่อไป
ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางพระพุทธศาสนา มีดังนี้
ตำนานความเป็นมาของพระภูมิไนพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเป็นพระโพธิ์สัตว์ เสด็จออกบวช และประทับบำเพ็ญญาณสมาบัติใต้ต้นไทรใหญ่ จนตกกลางคืนก็ปรากฎภูมิเทวดาทรงพระนามว่า พระเจ้ากรุงพาลี ซึ่งไม่พอใจที่
ที่พระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีในถิ่นตนจึงขับไล่ พระโพธิ์สัตว์จึงขอพื้นดินของพระเจ้ากรุงพาลี 3 ก้าวเพื่อใช้บำเพ็ญบารมีต่อไป ฝ่ายพระเจ้ากรุงพาลีเห็นว่าเล็กน้อยจึงถวายให้ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ก้าว 3 ก้าว ก็กินอาณาบริเวณพื้นที่ของพระเจ้ากรุงพาลีจนหมดสิ้น ทำให้พระเจ้ากรุงพาลีไม่มีที่อาศัยต้องออกไปอยู่นอกเขตมนุษย์ ทำให้ลำบากยากเข็ญจนทนไม่ไหว จึงให้คนใช้ 3 คน( นายจันถี,นายจันทิศและนายจันสพ ) พระเชิงเรือนไปขอแบ่งที่ดินจากพระโพธิ์สัตว์ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงประทานให้และทรงสั่งสอนให้พระเจ้ากรุงพาลีตั้งมั่นในความสุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่น คอยคุ้มครองมนุษย์และสัตว์โลกตลอดไปและหากกระทำการมงคลใดๆ จะต้องทำพิธีบูชาพระเจ้ากรุงพาลีในฐานะเจ้าของที่ จึงจะประสบความสำเร็จมีความสุข,เจริญรุ่งเรือง
ความเป็นมาของพระภูมิตามคติพราหมณ์และคติพุทธ
มีความคล้ายคลึงกัน
โอรสแต่ละพระองค์ของท้าวทศราช จะต้องมีหน้าที่คอยปกครองดูแลสถานที่ต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้
1.พระชัยมงคล ทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์หรือเทพารักษ์โดยทรงสวมชฎาทรงสูง สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล,ปั้นเหน่งและพาหุรัด สวมฉลองพระบาทเชิงงอน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่างๆ
2.พระนครราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ซ้ายถือช่อดอกไม้ ดูแลปกครองป้อม,ค่าย,ประตูเมือง,หอรบและบันไดต่างๆ
3.พระเทเพล หรือ พระเทเพน ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือหนังสือหรือคัมภีร์ ปกครองดูแลฟาร์ม,ไร่และคอกสัตว์ต่างๆ
4.พระชัยศพน์ หรือพระชัยสพ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ขวาถือหอก พระหัตถ์ซ้ายวางแนบอยู่บริเวณพระสะเอว ปกครองดูแลเสบียง,คลังและยุ้งฉางต่างๆ
5.พระคนธรรพน์ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือผะอบ ปกครองดูแลพิธีวิวาห์, เรือนหอและสถานบันเทิงต่างๆ
6.พระธรรมโหรา หรือ พระเยาวแผ้ว ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายแพนหางนกยูง ปกครองดูแลโรงนา,ป่าเขา,ลำเนาไพรและเรือกสวนต่างๆ
7.พระเทวเถร หรือ พระวัยทัต หรือ พระเทวเถรวัยทัต ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ขวาถือธารพระกร ( ไม้เท้า ) ปกครองดูแลปูชนียสถาน,เจดีย์และวัดวาอารามต่างๆ
8.พระธรรมมิกราช หรือ พระธรรมมิคราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือพวงมาลา ปกครองดูแลกิจต่างๆ อันเกี่ยวกับพืชพันธุธัญญาหารทั้งปวงและพระราชอุทยาน
9. พระทาษธารา ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ไม่ได้ถืออะไร ปกครองดูแลบึง, ห้วยหนอง,คลองและลำธารต่างๆตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า

รายนามพระภูมิทั้ง 9

ลักษณะของพระภูมิในประติมานวิทยาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จะทรงฉลองพระองค์อย่างพระมหากษัตริย์ไทย ทรงสวมชฎา สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล,ปั้นเหน่งและพาหุรัด สวมฉลองฉลองพระบาทเชิงงอนอันแสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยและความสูงศักดิ์.

นามะภูมิบุรุษนามชายาพระภูมิ หรือ พระภูมิสตรีเทพอาวุธสัญญาลักษณ์พระภูมิบุรุษเทพอาวุธสัญญาลักษณ์ชายาพระภูมิ หรือ พระภูมิสตรีบทบาทและสถานที่รักษาหมายเหตุ
พระชัยมงคล นางภูมไชยา หรือ ภูมชายา หัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน หัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ (พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ซ้ายทรงดอกบัวตูม หัตถ์ขวาทรงไถ้(ถุงมีสายหิ้งมีฝาปิด)(พระภูมิสตรี) ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่าง ๆ นิยมบูชาตามบ้านเรือนและพระราชวังทั่วไป.
พระนครราช หรือ พระธรรมโหรา นางภูมมาลา หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพุ่มกอไม้ หรือ ช่อดอกไม้ (พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ขวาทรงปุษษะมาลา(พวงมาลัย) หัตถ์ซ้ายทรงไม้พลองห้อยลง(พระภูมิสตรี) ดูแลปกครองป้อม,ค่าย,ประตูเมือง,หอรบและบันไดต่าง ๆ ได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งในเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ.
พระเทเพน หรือ พระเยาวะแผ้ว นางทิพมาลี หัตถ์ขวาทรงหอกสั้น หรือ พระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงคัมภีร์(พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ขวาทรงปาศะ(เชือก) หัตถ์ซ้ายทรงกำหญ้า(พระภูมิสตรี) ดูแลฟาร์ม,ไร่และคอกสัตว์ต่าง ๆ  
พระชัยศพณ์ หรือ พระสัพพคนธรรพ์ นางศรีประภา หัตถ์ขวาทรงแสงหอกยาว หัตถ์ซ้ายทรงวางไว้ข้างองค์(พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ขวาทรงคะนาน หัตถ์ซ้ายทรงย่าม(พระภูมิสตรี) ปกครองดูแลเสบียง,คลังและยุ้งฉางต่าง ๆ มีหน้าที่ลักษณะเดียวกับพระไพรศพณ์และแม่พระโพสพ.
พระคนธรรพ์ นางสุปริยา หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงหม้อกุมภะ(พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ขวาทรงหม้อกุมภะ หัตถ์ซ้ายทรงช่อดอกกุหลาบ(พระภูมิสตรี) โรงพิธีงาน โรงพิธีแต่งงาน เรือนหอ สถานที่จัดงานมงคล  
พระธรรมโหรา หรือ พระนาคราช นางขวัญข้าวกร้า หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงรวงข้าว(พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ขวาทรงเคียว หัตถ์ซ้ายทรงรวงข้าว(พระภูมิสตรี) เรือกสวนไร่นา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์  
พระเทวเถร หรือ พระวัยทัต นางดอกไม้ทอง หัตถ์ขวาทรงปฏัก หัตถ์ซ้ายทรงวางไว้ข้างองค์(พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ขวาทรงดอกพุทธรักษาเคียว หัตถ์ซ้ายทรงธูปเทียน(พระภูมิสตรี) ครองวัดวาอาราม ปูชนียสถาน พระเจดีย์ พระพุทธรูปสำคัญ.  
พระพระธรรมิกราช นางพุ่มไม้ไพร หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงปุษษะมาลา(พวงมาลัย)(พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ขวาทรงหวีกล้วย หัตถ์ซ้ายทรงดอกแคและดอกตูม(พระภูมิสตรี) พืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ  
พระทาษธารา หรือ พระธาตุธาร,ทาสธารา นางรินระรื่น หัตถ์ขวาถือหอกสั้น หัตถ์ซ้ายวางไว้ข้างองค์(พระภูมิบุรุษ) หัตถ์ขวาถือดอกบัวบาน หัตถ์ซ้ายถือหอยยอด หรือหอยสังข์(พระภูมิสตรี) ปกครองดูแลบึงห้วยหนอง,คลองและลำธารต่าง ๆ ตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า แม่น้ำทะเล

Visitors: 368,546